วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันขึ้นปีใหม่ 2555

ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่

 ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ


ประวัติความเป็นมา 

วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

 ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย 
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป

เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย 


กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่ 
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย 



เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง) 

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ


สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ


เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่ 

เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 

อ้างอิง




วิชาคณิตศาสตร์ ป.4

1.เงินเป็นสื่อกลางที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ทั้งอุปโภคและบริโภค มีการกำหนดมูลค่าของสินค้านั้นๆ แล้วใช้มาตราฐานของมูลค่าของตัวเงิน












2.ทดสอบความรู้และความเข้าใจ โดยนำ ข้อสอบ O-NET มาใช้ร่วมซึ่งจะมีแบบฝึกหัดกับการเรียนการสอน  เป็นการฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์ โจทย์ปัญหาเรื่องเงิน และโจทย์ปัญหาในหนังสือเรียน มาทำแบบฝึกหัดด้วย เมื่อจบบทนักเรียนก็จะทำ Think Board สรุปตามความเข้าใจของตนเอง ทำให้ครูผุ้สอนทราบอยู่เสมอว่า ควรเพิ่มเติมอะไรให้กับนักเรียนอีกถึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้



วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Subject: Language (17-12-2011)
Topic: Just Breath

T. Alistair evaluating his G.5D students' understanding by ask them draw the
Mind Mapping about the topic: Just Breath. The Mind Mapping show the conclusion
about the topic. Mind Mapping strategy is one of our main teaching strategies.


Activity: Christmas Activity 2011
Date: 22nd December 2011
Theme: Variety of Christmas

On 22nd December 2011, foreign department of Sarasas Rangsit School provided
a Christmas activity for the students. The activity presented in theme:
Variety of Christmas. In each station, the students were learning and enjoying
the activities that linked together between subject matters and games such as
Chrismatics activity from Mathematics teachers, Christmas Around the World from Social
Studies teachers, etc. For this Christmas activity, the students were able to learned
about the important day of Western tradition and enjoy the happiness of Christmas events.








How do we say "Merry Christmas" in various language? 



          Thailand           :       Sawadee Pee Mai
          Bahasa Malay : Selamat Hari Natal
          French : Joyeux Noel
          Spanish : Feliz Navidad
          Chinese : Sheng dan jie kuaile
          Japanese          : Kurisumasu Omedeto
          Filipino             : Maligayang Pasko
          Korean : Sung Tan Chuk Ha
          German : Froehliche Weihnachten
          Italian : Buone Feste Natalizie
          Vietnamese      : Chung Mung Giang Sinh
          Scottish            : Nolliag Chridheil
          Brazillian           : Feliz Natal
          Arabic : Milad Majid
          English : Merry Christmas!








.......................................
Subject: Language (Conversation Class)

From the video, t. Alistair was practicing students G.6B - Yoltida and Kritsana - about
conversation that related to the lesson in Family and Friends class book.
Every 2nd period of the week, language teachers will teach about conversation called conversation class.
This period the students will be learning about how to talk to the others in English language
and improve their confident about using English language in daily life.



Mind Map & Think board
    ในวิชาสุขศึกษา ของนักเรียนแผนกสามัญ ป.4-ป.6 ได้เรียนเรื่องสิ่งแวดล้อม แล้วสรุปเนื้อหาเป็นองค์รวม โดยการทำ Mind Mapping  และสรา้งสรรค์งานเขียนโดยการทำ Think board









ปากกา 4 สี
     ในขั้นตอนการเรียนการสอนทุกวิชา จะต้องมีการอ่าน 5 นาที ก่อนทุกครั้ง ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการอ่านที่สามารถจดจำเนื้อหา และสามารถสรุปเป็น mini map ได้ จึงมีการใช้ปากกา 4 สีเข้ามา ซึ่งประกอบไปด้วย
     1. Highlight              หัวข้อเรื่อง
     2. ปากกาแดง        วงคำสำคัญ
     3. ปากกาน้ำเงิน     เขียนขยายคำหรือข้อความ
     4. ปากกาดำ           ขีดเส้นใต้ความหมาย






วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมยามเช้า
   ก่อนจะเริ่มกิจกรรมการเรียนการสอนในคาบแรก นักเรียนทุกคนต้องเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมยามเช้า ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความรักชาติด้วยการร้องเพลงชาติ มีการออกกำลังกาย เพื่อกระตุ้นสมอง หรือจะเป็นการเต้นแทงโก้ หรือจะเป็นการเรียนรู้คำศัพท์ จากนั้นเมือ่เสร็จกิจกรรม นักเรียนทุกคนเดินขึ้นชั้นเรียนอย่างมีระเบียบ



อบรมจริยธรรม
     ทุกๆวันจันทร์ หลังรับประทานอาหาร นักเรียนในระดับ G.4-6 ,ป.4-6 ได้รวมตัวกันที่โรงยิมเพื่อรับการบอบรมคุณธรรม จริยธรรมจากผู้บริหารซึ่งสัปดาห์นี้ ท่านรองฯ อัมพร  บุญชู ได้ให้เกียรติมาอบรมให้กับนักเรียน



Reading  Time 
     จากการอ่านหนังสือเรื่อง ครอบครัวตึ๋งหนืด ของ ด.ญ.พันแสน  ด.ญ.ฐิติพร ด.ช.ธนะเมศฐ์ และด.ญ.พุทธรัตน์ นักเรียนห้อง G.5B ได้ร่วมกันแสดงบทบาทสมมุติ  นำเสนอเรื่องราวที่ได้อ่านให้เพื่อนๆได้นำไปเป็นข้อคิดในเรื่อง ความประหยัด






วิชา ภาษาไทย
เมื่อนักเีรียนระดับชั้น G.6 ได้เรียนรู้ เรื่องอักษร ย่อ ในวิชาภาษาไทย แล้วได้รวมกลุ่มกันรวบรวมข้อมูล สร้างสรรค์เป็น ผลงาน โมบายอักษรย่อ พร้อมนำเสนอผลงานของตนเอง ด้วยความภาคภูมิใจ




Think board
ครูธนิดา บุตรแสง ได้นำเนื้อวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนจดหมาย ที่ได้สอนนักเรียนไปแล้ว มาฝึกให้นักเรียนได้ สรุปเนื้อหา เชื่อมโยงกัีบชีวิตประจำวัน สร้างสรรค์เป็นงานเขียน โดยสื่อออกมาทางชิ้นงาน Think Board มีการนำเสนอต้นคาบ ของ ด.ญ. กชพร  รักมิตรศิริพร และสรุปท้าย ด้วย ด.ญ.ปวิชญา  น้อยสวัสดิ์  ระดับชั้น ป.5/2







วิชาพลศึกษา
    ในการเรียนพละของนักเรียนในระดับชั้น G.5,ป.5 ทุกครั้ง จะต้องมีการดึงข้อ โหนบาร์เดี่ยว  เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับข้อมือ จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหา ซึ่งวันนี้ นักเรียน ป.5/3 ได้เรียนรุ้ทักษะการแปลูก ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานของการเตะฟุตบอล

วิชาวิทยาศาสตร์
   นักเรียน G.6D กำลังทำการทดลอง เรื่อง อำนาจเเม่เหล็ก ในชั่วโมงวิทยาศาสตร์ สอนโดย คุณครู อามอญลัค ระนาด  จากกการทดลอง นักเรียนสามารถสรุปได้ว่า ถ้าพันขอลวดทองแดงมาก อำนาจแม่เหล็กก็จะมีมาก แต่ถ้าพันขดลองทองแดงน้อยอำนาจแม่เหล็กก็จะน้อย