วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการทำข้อสอบให้ได้คะแนนสูงๆ



1. เปิดข้อสอบเมื่อได้รับคำสั่ง ตรวจสอบเวลาทำการสอบรวมกี่ชั่วโมงที่หัวข้อสอบให้แน่ชัด เสร็จแล้วเขียนชื่อ/นามสกุล ชั้น/ห้อง เลขที่ประจำตัว เลขที่สอบให้เรียบร้อย ขณะเดียวกันให้ฟังกรรมการผู้คุมสอบไปด้วยว่า มีคำสั่งแก้ไขข้อสอบหรือไม่ ถ้ามีให้พลิกข้อสอบ ไปทำการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงกลับมาเขียนข้อมูลส่วนตัวบนหัวกระดาษคำตอบให้เรียบร้อย

2. พลิกดูข้อสอบทั้งหมดมีกี่ข้อ เป็นปรนัยกี่ข้อ อัตนัยกี่ข้อ คำนวณเวลาที่มี โดยปกติข้อสอบอัตนัย 1 ข้อ จะใช้เวลามากกว่าปรนัยประมาณ 3 เท่า ว่าควรจะใช้เวลาคิดได้ข้อละกี่นาที และเหลือเวลาไว้ตรวจสอบคำตอบทั้งหมดในตอนท้ายประมาณ 10 นาที เพราะผู้ออกข้อสอบจะคำนึงถึงเวลาที่ให้กับความยากง่ายของข้อสอบเสมอ

3. เมื่อได้เวลาเฉลี่ยต่อข้อในการทำข้อสอบแล้ว พลิกข้อสอบดูคร่าวๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ไปถึงข้อสุดท้ายอีกครั้ง เพื่อดูว่าข้อสอบข้อใดบ้างง่ายสำหรับเรา ให้ลงมือทำเลยโดยไล่จากข้อสอบแบบปรนัยไปแบบอัตนัย

4. อ่านคำสั่งให้เข้าใจว่าแต่ละส่วนของข้อสอบเขาให้เราตอบอย่างไร ให้วงกลม กากะบาด หรือเติมคำตอบสั้นๆ จับคู่ หรือแสดงวิธีทำ มีผู้เข้าสอบเป็นจำนวนมากต้องเสียใจกับความผิดพลาด เพราะละเลย ไม่อ่านคำสั่งให้ดี เกี่ยวกับการแสดงคำตอบที่ถูกต้องมามากต่อมากแล้ว

5. เริ่มทำข้อสอบที่ยากจากข้อแรกไปตามลำดับ อย่าลืม การวิเคราะห์โจทย์อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้วางแผนในการคิดหาคำตอบในแต่ละข้อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

6. ข้อไหนคิดจนหมดเวลาเฉลี่ยแล้วให้ผ่านไปก่อน คิดข้ออื่นต่อไป ถ้ามีเวลาเหลือแล้วค่อยกลับมาทำใหม่ แต่อย่าลืมจะต้องคงเวลาประมาณ 10 นาทีไว้ตอนท้ายสำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของการทำข้อสอบเสมอ
7. อย่าเขียนสูตร ทฤษฎีบท นิยาม หรือวิธีคิดใดๆ ไว้บนมือขณะอยู่ในห้องสอบ เพราะจะทำให้เกิดปัญหากับกรรมการคุมสอบได้ง่ายที่สุด ถ้าจำเป็นควรเขียนบนกระดาษทดที่กรรมการคุมสอบแจกมา

8. สำหรับข้อสอบแบบอัตนัย ให้เขียนวิธีทำด้วยลายมือที่อ่านง่าย ชัดเจน ได้รูปแบบของการทำโจทย์คณิตศาสตร์ ในชั้นเรียน (ไม่ใช้รูปแบบจากการเรียนพิเศษ ซึ่งนั่นควรเขียนเก็บไว้เพื่อความเข้าใจของตนเองเท่านั้น) เพราะคำตอบที่อ่านง่ายตั้งใจเขียน แม้จะตกหล่น ขาดเกินไปบ้าง ก็ชนะใจผู้ตรวจข้อสอบในเรื่องการให้คะแนนมามากต่อมากแล้ว

9. ใช้เวลาช่วง 10 นาทีสุดท้าย ตรวจสอบคำตอบที่เราทำมาทั้งหมด ดูว่าเราทำตกหล่น เผลอเลอ ลืมอะไรตรงไหนอีกหรือไม่ มีผู้สอบที่พลาดการได้คะแนน เพราะความเผลอเลอ ลืม ไม่รอบครอบ ทำให้เสียคะแนน อดได้คะแนน หรือไม่ได้รับการคัดเลือก หรือแพ้เขาเพียง 1 คะแนน มามากต่อมากแล้ว (ใช้เวลาในการคิดจนหมดไม่มีเวลาทบทวน) แต่อย่าทบทวนในลักษณะคิดวกไป วนมา แก้ไขหลายครั้งแบบสับสนจนทำให้ข้อถูก กลายเป็นข้อผิด เพราะขาดความมั่นใจในตัวเอง ฉะนั้นทุกข้อที่ทำไปแล้วให้ทบทวนเพียงครั้งเดียว

10. ส่งกระดาษคำตอบให้กรรมการผู้คุมสอบเมื่อตรวจทานเสร็จหรือได้ยินสัญญานหมดเวลาสอบ ขณะส่งกระดาษให้เหลือบดูที่หัวกระดาษคำตอบสักนิดว่าเขียน ชื่อ/นามสกุล เลขที่สอบหรือเลขประจำตัว เรียบร้อยแล้วหรือไม่ เพราะยังแก้ไขได้ทัน แต่ถ้าส่งกระดาษ คำตอบไปแล้ว อย่าไปคว้ากลับมาแก้ไขด้วยเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าไม่ได้รับการทวงถามจากกรรมการผู้คุมสอบ

บรรยากาศการสอบ Midtem

       เป็นอีกครั้งที่เด็กจะได้สอบเพื่อประเมินความรู้ของตนเอง หลังจากที่ได้เปิดภาคเรียนที่ 2 มาเป็นเวลาเกือบ 2 เดือน ทุกคนต่างตั้งใจทำข้อสอบอย่างเต็มที่



Mind Mapping & Think board

Mind Mapping  วิชาประวัติศาสตร์
    ผลงานการวิเคราะห์บทเรียนของนักเรียน ห้อง G.5A เรื่อง วัฒนธรรมกับการดำรงชีวิตในภาคต่างๆซึ่งเป็นเนื้อหาในวิชาประวัติศาสตร์ โดย เสนอผลงานออกมาในรูปของ Mind Mapping







Think Board  วิชาสังคมสึกษา
    นักเรียน G.5A สร้างสรรค์ผลงาน โดยการเชื่อมโยงเนื้อหาเรื่อง สถาบันการเงิน เข้าสู่ชีวิตประจำวัน และผูกเรื่องราวได้อย่างน่าอัศจรรย์






Reading Time

   ผลจากการอ่าน ด.ช. วุฒิชัย  ผันอากาศ ,ด.ญ.ศุภาวรรณ ภูขะมา และ ด.ญ.พรนภัส  โรจนรัตน์  เรื่อง กระเป๋า 2 ใบ ความหมายของกระเป๋า ใบที่ 1 คือ เห็นความผิดของผู้อื่น กระเป๋า ใบที่ 2 คือ เห็น ความผิดของตนเอง จากการนำเสนอได้ให้ข้อคิดกับเรื่องนี้ว่า ( ควรมองข้ามกระเป๋าใบที่ 1 และให้แก้ไขกระเป๋าใบที่ 2 )



ผลการทดสอบเขียนคำยาก ประจำสัปดาหฺที่ 17-21 มกราคม 2555





บรรยากาศการแข่งกีฬาสี

   หลังจากรับประทานอาหารกลางวันเสร้จแล้ว จะมีการแข่งขันกีฬา ภายในของโรงเรียน ซึ่งวันนี้เป็นการแข่งขันแชร์บอลของนักเรียนชั้น G.5,ป.5





วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

บรรยากาศการสอบ Q.C No.5

นักเรียนในระดับ G.5-6, ป.5-6 สอบ Q.C. ครั้งที่ 5 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2555




!!!.....วิธีสร้างนิสัยรักการเรียนแก่ลูกรัก .....!!!!?


  ปัญหาหลักเรื่องการเรียนของเด็กส่วนใหญ่นั้นเกิดจากสาเหตุใหญ่ 2ประการ ได้แก่
 1.เด็กไม่มีนิสัยรักในการเรียน
 2.เด็กไม่รู้จักแบ่งเวลาในการดูหนังสือ
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่คุณพ่อ คุณแม่ ต้องช่วยสร้างนิสัยรักการเรียนให้แก่ลูก สิ่งเหล่านี้อาจใช้เวลาในการตั้งต้นอย่างเอาจริงเอาจังประมาณ   1 -2 สัปดาห์ แต่การใช้ความสม่ำเสมอ จะช่วยสร้างลักษณะนิสัยได้ มีเทคนิคที่จะช่วยสร้างลักษณะนิสัยดังกล่าวต่อไปนี้
      
       

      
       
      
       
       1. ต้องจัดเวลาในการดูหนังสือและทำการบ้านให้แก่เด็กทุกวัน เป็นช่วงเวลาเดิม และทำเป็นประจำทุกวัน
      
       2. จัดโต๊ะสำหรับทำการบ้านและดูหนังสือ ให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอและไม่มีเสียงรบกวน
      
       3. ปิดทีวี วิทยุ หรือสิ่งเร้าที่รบกวนต่างๆ
      
       4. เมื่อนั่งที่โต๊ะทำการบ้าน และดูหนังสือทุกครั้ง จะต้องฝึกให้เด็กทำงานทันที อย่าให้ทำเรื่องอื่นที่นอกเหนือจากการเรียน เช่นการตอบจดหมาย การคุยกับเพื่อนทางอินเตอร์เนต หรือการเล่นเกม เป็นต้น แต่ตั้งกฎกติกาไว้ว่าเด็กสามารถทำสิ่งเหล่านั้นได้หลังจากสิ้นสุดการดูหนังสือหรือทำการบ้าน
      
       5. ช่วยลูกในการวางแผนการทำการบ้านและดูหนังสือให้ชัดเจนในแต่ละวัน เช่น ทำเรียงความ 2 หน้า เขียนเรื่องสั้น 1 เรื่อง ตอบโจทย์เลข 10 ข้อ เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆจากการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
      
       6. หากงานที่ได้รับมอบหมายเป็นโครงการใหญ่ อาจช่วยลูกในการแบ่งหัวข้อ เป็นข้อย่อยๆเพื่อให้ง่ายขึ้น เช่น บทนำ การวางแผนที่จะทำโครงการนั้นสำเร็จ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทสรุป เป็นต้น
      
       7. มีอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ง่ายต่อการหยิบจับ และนำมาใช้สอย เช่น มีกล่องกระดาษว่างๆ แล้วให้ลูกจัดอุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับการเรียนเตรียมพร้อมไว้ เพื่อเวลาใช้งานจะไม่รู้สึกหงุดหงิดว่าหาไม่เจอ
      
       8. เมื่อลูกเริ่มใจลอย ไม่มีสมาธิในการดูหนังสือ ให้เตือนลูกทันที เพื่อลูกจะใช้เวลาในช่วงนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย หากสมองล้าเกินไปจะไม่สามารถทำกิจกรรมอื่นต่อไปได้ ดังนั้นควรจัดเวลาพักไว้ด้วย เช่น ทำการบ้าน 45 นาทีพัก 15 นาที เพื่อให้สมองกลับมาสดชื่นอีกครั้ง เป็นต้น
9. การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนั้นควรจัดเวลาเข้านอน และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ก่อนนอน 1-2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้นอนหลับไม่สนิทในเวลากลางคืน
      
       10. รับประทานอาหารมีประโยชน์และให้ครบ 3 มื้อในแต่ละวัน ไม่ควรงดอาหารเช้าหรือาหารเย็น เพราะ ร่างกายของเด็กกำลังเจริญโต และสมองจะพัฒนาอย่างเต็มที่หากได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
      
       11. การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น ควรออกกำลังอย่างน้อยวันละ 20 นาที หากทำกันทั้งครอบครัวจะทำให้ลูกรู้สึกสนุกและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย
      
       12. หากลูกต้องการความช่วยเหลือ คุณพ่อคุณแม่จะคอยช่วยให้คำแนะนำได้ แต่ไม่ใช่ลงมือทำแทนลูก
       

       ประโยชน์ที่ได้รับจาการสร้างลักษณะนิสัยรักการเรียนแก่ลูก
      
       1.ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญาด้านความคิดและความจำของลูก
      
       2.ช่วยลูกให้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่ดี
      
       3.ช่วยให้ลูกใช้เวลาอย่างฉลาด
      
       4.ช่วยให้ลูกเรียนรู้การทำงานด้วยตัวของตัวเอง
      
       5.สอนให้ลูกรู้จักรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
      
       6.ได้ทบทวนบทเรียนและฝึกปฏิบัติจริง
      
       7.เตรียมพร้อมสำหรับบทเรียนในวันถัดไป
      
       8.เรียนรู้การค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เนต เป็นต้น
      
       9.ลูกสามารถต่อยอดความคิดต่างๆ และสามารถนำไปปรับใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้
      
       10.ตัวคุณพ่อคุณแม่เองจะทราบถึงความเคลื่อนไหวในการเรียนของลูก
      
       11.เป็นเวลาที่มีค่าที่ครอบครัวจะได้ช่วยเหลือและพัฒนาความคิดไปด้วยกัน
      
       12.คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่ใกล้ๆลูกในขณะที่เขากำลังทำการบ้าน เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ช่วยสอนและอธิบายการบ้านแก่ลูก ในกรณีที่เขาไม่เข้าใจหรือทำการบ้านไม่ได้
      
       ในขณะที่ลูกกำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ลูกต้องการแบบอย่าง การให้กำลังใจ หากผู้ปกครองเห็นความสำคัญในการจัดเวลา ช่วยลูกสร้างนิสัยรักการเรียนตั้งแต่ยังเล็กจะทำให้ลูกติดเป็นนิสัย และจะทำให้ลูกเป็นคนมีวินัยต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อหน้าที่การงานที่ตนเองรับผิดชอบ ซึ่งจะทำให้ลูกเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการเรียนได้อย่างแน่นอน

..................................................................................................
" เป็นเด็กดี...กันนะครับ../....เพื่อสังคมที่ดี...ประเทศไทยจะได้หมดภัยซะที.."
แฮปปี้../มีความสุขนะครับ./บ๊ายบ๋ายจ้า../
............................................................................

คำยาก


การนำเสนอชิ้นงานวิชาสังคม

หลังจากการเรียนเนื้อหาเรื่องแผนที่ แล้ว นักเรียนระดับชั้น ป.5 ได้ผลิตผลงาน พร้อมนำเสนอผลงานของแผนที่ประเภทต่างๆ








วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

สรุปผลการประเมินการสอบ Q.C. ภาคภาษาอังกฤษ  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2554
ระดับชั้น  G.5-6