กิจกรรม Morning Time ระดับชั้น G.4-6 และ ป.4-6
วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
สาระน่ารู้ ประจำสัปดาห์
ประเพณีไทยและการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
ความสำคัญของประเพณีไทย
พจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายของคำว่า ประเพณีไทย
ไว้ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียมมีความหมายว่าที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบแผนและได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป ซึ่ง
เราอาจสรุปให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า ประเพณีไทย หมาย ถึง กิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ เป็นกฎระเบียบในการประพฤติปฏิบัติตนและมีความสำคัญต่อสังคมจนส่งอิทธิพลต่อสังคมในด้านต่างๆเช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯประเพณีของไทยนั้น ให้ความสำคัญในการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันเช่น มารยาทในห้องรับประทานอาหาร การให้ความสำคัญกับผู้อาวุโส ผู้น้อยต้องรู้จักสัมมาคารวะให้ความเคารพผู้ใหญ่
ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็นวิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม ที่รับเอาอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะศาสนา
ซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทยและชี้ให้ เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยการสร้างศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล อย่างไรก็ดีอิทธิพลจากศาสนาอื่นเช่น ศาสนาพราหมณ์ และ การอพยพของชาวต่างชาติเช่น คนจีนก็มีอิทธิพลของประเพณีไทย
ประเพณีไทยนั้นสามารถแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่คือ ภาษา, ศิลปะ และประเพณี
ภาษาไทย เป็น ภาษาประจำชาติของคนไทย ตัวอักษรของภาษาไทยถูกสร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงใน พ.ศ.1826 ตัวอักษรของภาษาไทยได้รับอิทธิพลมาจากภาษาบาลี และสันสกฤต
อีกทั้งยังได้รับได้รับอิทธพลมาจากภาษาต่างๆ ทั่วโลกเช่น บาลี, ขอม, มาเล, ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน ทำให้ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อยจนถึงปัจจุบันศิลปะไทย นั้น ได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากพระราชาและชาววังครั้งแต่โบราณ และส่วนมากจะมีความเกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น ศิลปะการสร้างภาพวาดฝาหนังที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ และพิธีกรรมทางศาสนา การสร่างสิ่งก่อสร้างในทางพระพุทธศาสนาเช่น เจดีย์, วัด, หรือสถูป ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางในการทำกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เช่นการจัดงานประจำปี นอกจากนี้แล้ววัดยังเป็นสถานที่เรียนหนังสือกับเยาวชนและประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนา
ส่วนสถูป และเจดีย์ ถูกสร้างขึ้นขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของพระพุทธรูป หากบรรจุพระบรมสารีริกธาตของ
พระพุทธเจ้าหรือของพระมหากษัตริย์นั้นก็จะเรียกว่าธาตุเจดีย์ และยังเป็นคติให้รำลึกถึงความเชื่อใน ศาสนาพุทธที่ว่าสังขารของคนนั้นไม่เที่ยงแท้ เมื่อมีการเกิดก็ย่อมต้องมีวันแตกดับได้เป็นไปตามปัจจัยของโลก คนไทยมีประเพณีสร้างเจดีย์เอาไว้ในวัดมาตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อเตือนใจคนใน สังคมไม่ให้ทำความชั่ว และหมั่นสร้างความดีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมในภพนี้และภพหน้า
ประเพณีไทย แสดง ให้เห็นถึงการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาว บ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย และความผูกพันกับความเชื่อและ พุทธศาสนาเช่น
ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร
ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น
วัฒนธรรมประเพณีไทยของชาติล้วนเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมของไทย เป็นสิ่งที่แสดงถึงแนวความคิด ความเชื่อ และสะท้อนให้เห็นถึงวิถีการดําเนินชีวิตความเป็นมาในอดีต ซึ่งมีความสําคัญพอสรุปเป็นสังเกตได้ดังต่อไปนี้พระพุทธศาสนา และพราหมณ์รวมทั้งพิธีกรรมต่างๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานั้น มีอิทธิพลต่อขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ในด้านความเชื่อในเรื่องของความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
เป็น เครื่องเตือนจิตใจ ให้รู้จักเป็นผู้มีความเสียสละ และความรักความสามัคคี ซึ่งจะเห็นได้จากงานบุญต่างๆ ที่ต้องใช้การร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจกันจึงจะประสบผลสำเร็จเช่น พิธีขนทรายเข้าวัด การก่อพระเจดีย์ทราย เป็นต้น มารยาทไทยเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีไทยอันเป็นเอกลักษ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน และการมีสัมมาคารวะขนบธรรมเนียมประเพณีไทยทำหน้าที่เป็นเครื่องกำหนดควบคุมพฤติกรรมให้คนไทยอยู่ในกรอบที่ดีงามขนบ ธรรมเนียมประเพณี สามารถบ่งบอกถึงความเป็นมาของชาติ ถึงแม้ประเพณีจะแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น แต่ก็แสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียว เป็นชนชาติเดียวกันการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและประเพณีไทย
การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้ดำรงอยู่สืบไปจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากคนไทยทุกคน
ซึ่งมีหลายวิธีการด้วยกัน ดังนี้
การรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมต่างๆ ทั้ง จากคนในท้องถิ่น และเอกสารที่ได้มีการบึนทึกไว้ เพื่อนำมาศึกษา วิจัยให้เข้าใจถึงแก่นแท้ เอกลักษณ์ และคุณประโยชน์ของวัฒนธรรมนั้นๆ ซึ่งจะช่วยให้คนรุ่นใหม่เกิดการยอมรับ และนำไปปรับใช้กับชีวิตยุคปัจจุบันได้
ส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของประเพณีไทย โดย เฉพาะประเพณีในท้องถิ่น ให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงเอกลักษ์ทางวัฒธรรม ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจและสามารถปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงจากวัฒ ธรรมอื่นๆที่เข้ามาได้การรณรงค์เพิ่อปลูกฝังจิตสำนึกความ รับผิดชอบในการอนุรักษ์วัฒนธรรมให้กับคนไทยทุกคน เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญ ของวัฒนธรรมว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน รวมทั้งภาคเอกชนต้องร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานการบริการความรู้ วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมให้กับชุมชนส่งเสริมให้ใช้ศิลปะวัฒนธรรมเป็นซื่อกลาง ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทั้งวัฒนธรรมภายในประเทศ ระหว่างท้องถิ่นต่างๆและระหว่างประเทศ
ปลูกฝังทัศนคติว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง ฟื้นฟู และการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติ ให้ทุกคนเกิดความเข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้มีผลโดยตรงของความเป็นอยู่ของทุกคนสร้างศูนย์กลางในเผยแพร่ประชา สัมพันธ์ผลงานทางด้านวัฒนธรรม ด้วยระบบเครื่อข่ายสารสนเทศ เช่นเวบไซต์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตได้ง่าย อย่างไรก็ดีสื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย
วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1
การทดลอง เรื่อง กรด -เบส
คุณครูหทัยรัตน์ ได้พานักเรียนทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง กรด - เบส โดยให้ทดสอบจากสาร 3 อย่าง คือ น้ำมะนาว น้ำผงฟู น้ำหวาน ทดสอบค่าความเป็นกรด - เบส - กลาง พร้อมทั้งตอบคำถามและสรุปผลการทดลอง
การทดลอง เรื่อง การต่อวงจรไฟฟ้า
คุณครูหทัยรัตน์ ได้พานักเรียนทำกิจกรรมการทดลองการต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย คือ การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน พร้อมตอบคำถาม และสรุปผลการทดลอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)