วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพ่อ แห่งชาติ

ประวัติวันพ่อแห่งชาติ

วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” วันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งความเป็นมาของวันสำคัญนี้ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์ เป็นผู้ถวายการประสูติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์
วันพ่อแห่งชาติ 
ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญ ต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาว ไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน
ทางราชการจึงได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 5 ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ นี้
วัตถุประสงค์ในการจัดงานวันพ่อแห่งชาติ
๑. เพื่อเทิดทูน และเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะพ่อของ  
    แผ่นดินผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทย
๒. เพื่อให้ผู้เป็นลูกได้สำนึกถึงพระคุณของพ่อ และตระหนังถึงหน้าที่ของลูกที่พึงมีต่อพ่อ 
    ได้แก่ การแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
๓. เพื่อให้ผู้ที่เป็นพ่อได้ตระหนักถึงหน้าที่ของตนที่พึงมีต่อบุตร ธิดา และครอบครัว
๔. เพื่อเผยแพร่พระคุณ และบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
๕. เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงบทบาท และพระคุณของพ่อที่มีต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
๖. เพื่อประกาศเกียรติคุณให้กับพ่อ และลูกที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดี 
    สมควรแก่การชื่นชมยกย่องของสังคมโดยทั่วไป
๗. เพื่อยกย่องพ่อดีเด่น และลูกที่มีความกตัญญูต่อพ่อ






ดอกไม้ประจำวันพ่อ ดอกพุทธรักษา ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ


หมู่มวลดอกไม้จำนวนมากมายที่มี อยู่ในประเทศไทย มีดอกไม้สีเหลืองที่ชูช่อเด่นเป็นสง่าอย่าง “ดอกพุทธรักษา” ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนดอกไม้นานาชนิดเพื่อเป็น “สัญลักษณ์แห่งวันพ่อ” ดังนั้นก่อนที่จะนำดอกพุทธรักษาไปกราบพ่อในช่วงเทศกาลวันพ่อ เราลองมารู้จักกับดอกพุทธรักษาให้มากขึ้นกันก่อนดีกว่า ..

ประวัติดอกพุทธรักษา

          ดอกพุทธรักษา เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนานหลายร้อยปี โดยถูกพบครั้งแรกหมู่เกาะเวสอินดี้ แถบอเมริกาใต้ ก่อนที่จะถูกพัฒนาและขยายพันธุ์มาเรื่อย ๆ ทั้งในยุโรปและเอเชีย โดยดอกพุทธรักษาสามารถปรับตัวให้ทนต่อสภาพอากาศต่าง ๆ ได้ สำหรับในประเทศไทยนั้นแม้จะไม่มีบันทึกไว้ว่าใครเป็นผู้ตั้งชื่อดอกไม้สี เหลืองชนิดนี้ แต่ต้นพุทธรักษาก็เป็นพรรณไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และปลูกกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่ปลูกง่าย และมีความสวยงามอยู่เสมอ

            โดย ต้นพุทธรักษา มีชื่อเรียกอื่นว่า พุทธศร หรือ บัวละวงศ์ เป็นพืชในวงศ์CANNACEAE ชื่อสามัญ Canna, Indian shoot และชื่อวิทยาศาสตร์คือ Canna generalis เป็น พรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1–2 เมตร โดยมีเหง้าอยู่ใต้ดิน และเจริญเติบโดด้วยการแตกหน่อ มีใบสีเขียวลักษณะเรียวแหลม ออกดอกได้หลายสี ทั้งสีเหลือง สีแดง สีแสด สีชมพู สีขาว ซึ่งจะออกดอกเป็นช่อ ๆ ช่อละ 8-10 ดอก ความยาวดอกประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีกลีบดอก 3 กลีบ หากบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร และออกดอกตลอดทั้งปี

ความหมายของดอกพุทธรักษา

            เนื่องจาก ดอกพุทธรักษา มีสีเหลืองงามซึ่งตรงกับสีของวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (วันจันทร์) รวมทั้งเป็นไม้มงคลที่คนไทยเชื่อกันว่าเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าที่คอยคุ้ม ครองปกปักษ์รักษา ให้มีความสงบสุข ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ และรอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวงได้ ดังนั้นดอกพุทธรักษาจึงเป็น “ดอกไม้วันพ่อ” ที่ มีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นอย่างดี ที่จะใช้เป็นตัวแทนในการมอบความเคารพบูชาให้กับพ่อ และอวยพรให้พ่อได้มีการคุ้มครองปกป้อง อย่างสงบสุขร่มเย็นโดยไม่มีอันตรายใด ๆ นั่นเอง












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น