วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เตรียมความพร้อมต้อนรับเปิดเทอม

เพิ่มศักยภาพของตัวเอง

ความเก่ง ความฉลาดที่ติดตัวมาย่อมมีได้ไม่เท่ากัน บางอย่างเป็นพรสวรรค์ แต่บางอย่างมันก็สร้างขึ้นมาใหม่ได้ จะดีไหม ถ้าการหมั่นฝึกฝน และดูแลตัวเอง จะช่วยเพิ่มศักยภาพของตัวเองได้  ลองมาดูเคล็ดลับเล็กๆน้อยๆ ที่รวบรวมมา แล้วนำไปปรับใช้ดูนะคะว่าวิธีไหนจะเข้าทางคุณผู้อ่านค่ะ

อย่างแรกที่ขอแนะนำคือ “อย่าละเลยความสำคัญของอาหารเช้า”


เมื่อเราตื่นนอนตอนเช้าระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำทำให้เราจะรู้สึกหิว สมองจะสั่งให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมา หากเราไม่เติมพลังงานหรือรับประทานอะไรลงไป นานวันเข้าร่างกายก็ดึงพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตที่สะสมมาใช้จนหมดไป การขาดอาหารเช้าจะทำให้เรารู้สึกหงุดหงิด อารมณ์เสีย ไม่มีสมาธิ โดยเฉาะวัยเรียนด้วยแล้ว อาหารเช้ามีผลต่อสมองอย่างดีทีเดียว  การอดมื้อเช้า ให้ท้องหิวรบกวนสมาธิในการเรียน ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็น ย่อมตัดกำลังอย่างไม่สมควร

"ตื่นแต่เช้า"
จัดระเบียบให้ร่างกายและสอง พร้อมตื่นเพื่อรับเข้าวันใหม่ที่สดใส เด็กๆหลายคนแทบต้องงัดขึ้นจากเตียงในวันที่ไปโรงเรียน การเข้านอนในเวลาที่เหมาะสมและตื่นเช้าให้ทันไปโรงเรียนเป็นการเริ่มต้นของวันที่ไม่ทำให้เราต้องเร่งรีบ หลงลืมสิ่งของ และหงุดหงิดกับการที่ต้องแข่งกับเวลา บางคนอาจลองตื่นเช้าก่อนเปิดเทอมเรียนสักระยะเพื่อปรับตัวไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาเปิดเทอมก็ไม่ต้องโดนพ่อแม่ดุให้ตื่นจากเตียงให้เสียฤกษ์

"การอ่านหนังสือ"
การอ่านหนังสือไม่ใช่ว่าอ่านมาก อ่านนานจะดีเสมอไป แต่เราควรอ่านอย่างมีเป้าหมาย และอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัยทุกวัน มากกว่ามาเน้นอ่านหนักหนาสาหัสเอาช่วงสอบ เพราะการอ่านเพื่อสอบมักเป็นการท่องจำเอามากกว่าทำความเข้าใจ เมื่อสอบเสร็จก็แทบเรียนได้ว่าคืนตำราส่งอาจารย์ และการท่องตำราก่อนสอบก็ใช่ว่าจะจำได้หมดและข้อสอบที่ดีก็ต้องมีความเข้าใจมากกว่าท่องไปตอบ เมื่ออ่านจบแต่ละวันควรมีการทำสรุปเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของตัวเอง และการเขียนสรุปยังช่วยให้เราได้มีกระบวนการรับรู้มากขึ้นอีกด้วย

“การจดบันทึก” มีคนกล่าวว่าการเสียเวลาวางแผน 30 นาทีช่วยให้เราประหยัดเวลาได้ 3 ชั่วโมง การจดบันทึกวางแผนการทำงาน ตารางการอ่านหนังสือ วันสอบ การส่งงานหรือเตือนความจำในเรื่องต่างๆ ทำให้เราจัดระเบียบชีวิตได้ง่ายว่าควรทำอะไรก่อนหลัง รู้ว่ากิจกรรมนั้นๆ มีระยะเวลาต้องทำให้เสร็จสิ้นเมื่อใด ทำให้ไม่หลงลืมและพลาดสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ เมื่อเวลาผ่านไปคุณก็สามารถย้อนดูได้ว่าได้ทำงานต่างๆสำเร็จลุลวงตามเป้าหมายดีหรือไม่ และมีอะไรต้องแก้ไขปรับปรุงต่อไป

“ฝึกความจำให้แม่นยำ” 
การจำเป็นทักษะสำคัญอย่างหนึ่งที่สำคัญ และโชคดีที่ว่า มันฝึกฝนกันได้  ในการอ่านหนังสือ สิ่งที่สำคัญคือ ต้องอ่านด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่การท่องจำ เพราะความเข้าใจเป็นการทำให้เกิดการจำที่ถาวรกว่า สาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้นักเรียนท่องจำมากกว่าเข้าใจ นั้นคือเวลาในการทำความเข้าใจตำราไม่เพียงพอ บ้างก็ไม่ได้ตั้งใจเรียนในห้อง บ้างก็มาเร่งอ่านเอาในระยะเวลาสั้นๆก่อนสอบ การอ่านหนังสือที่ดี แต่ละคนอาจแตกต่างกันไป คุณต้องพายามหาวิธีที่เหมาะกับคุณให้พบ บางคนอ่านไปพร้อมๆกับทำสรุปเป็นระยะเมื่อจบบทหรือประเด็นสำคัญ การเลือกใช้ปากกาสีต่างๆ เขียนไปในหนังสือก็มีส่วนช่วยให้เกิดความจำมากขึ้น อ่านจบแล้วปิดหนังสือแล้วอธิบายด้วยสำนวนของตนเองดูว่าเรามีความเข้าใจดีแล้วหรือยัง แต่ก็ต้องยอมรับว่าข้อมูลบางอย่าง ที่เป็นตัวเลขพวกสูตร สถิติอาจต้องใช้ความสามารถในการหมั่นท่องจำ เทคนิคการจำของบางคน อาจทำโดยผูกโยงเรื่องที่จะจำด้วยสถานที่หรือเรื่องราวต่างๆ สร้างเป็นเรื่องราว หรือคำคล้องจอง เราพบเทคนิคเหล่านี้บ่อยๆในการท่องสูตรต่างๆ

"สมองที่ดีมาจากอาหารที่ดี"

“You are what you eat” อาหารที่เรากินเข้าไปจะกลายเป็นสารเคมีต่างๆให้กับร่างกายของเรา การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อร่างกายเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย  เรารู้ดีว่า ผักปลอดสารพิษ ข้าวซ้อมมือ ผลไม้สด ขนมปังโฮลวีต น้ำตาลไม่ขัดขาว น้ำเต้าหู้ ปลาแซลมอน อาหารที่ดีต่อร่างกายนั้นเชื่อว่าคงไม่ต้องบอกกันตรงนี้ แต่สำคัญที่ว่าคุณจะแน่วแน่และมีวินัยในการกินอย่างไร แต่ก็ขอเสริมสักนิดในเรื่องของการดื่มน้ำที่ควรจิบบ่อยๆเพราะจะน้ำจะช่วยในในการส่งข้อมูลของเชลล์สมองเหี่ยว การกินไขมันดี เช่นน้ำมันปลา น้ำมันพริมโรส สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง  จะช่วยทดแทนส่วนที่สึกหรอให้สมองซึ่งเป็นก้อนไขมันได้ดีทีเดียว


"สร้างสมาธิ"
คนที่มีสมาธิสมองย่อมเปิดรับ และรับสารต่างๆได้ครบถ้วนถ่องแท้กว่าคนที่จิตใจวอกแวก การฝึกทำสมาธิก่อนนอน หรือหลังตื่นนอนในตอนเช้าๆ ช่วยให้มีสมาธิดีขึ้น และสำคัญมากคือ การมีสมาธิในเวลาเรียน การตั้งใจเรียนอย่างมีสมาธิ ไม่คุยกัน หรืออยู่ท่ามกลางเพื่อนที่รบกวนสมาธิในการเรียนทำให้เราประหยัดเวลาในการอ่านหนังสือเพื่อทำความเข้าใจไปได้มาก

“อารมณ์ดี”
การเป็นคนอารมณ์ดีก็เป็นสิ่งสำคัญทำให้การเรียนมีความสุข คนที่ยิ้มหรือหัวเราะบ่อยๆ การเป็นคนคิดดีทำดีต่อตนเองและผู้อื่น ร่างกายจะหลังสารแห่งความสุขออกมา เมื่อความสุขเกิด สมองก็เบิกบานมีความคิดจินตนาการที่สร้างสรรค์

“สุขภาพกาย”
สมองที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่บอกกันประจำ ดูเหมือนง่าย แต่ทุกวันนี้จะมีสักกี่คนที่กล้าบอกว่าตนเองออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอแล้วการดูแลสุขภาพโดยการไม่สูบบุหรี่  หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับที่อันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายที่แข็งแรงก็พร้อมที่จะเรียนรู้อย่างเต็มที นอกจากนี้การฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ โดยเฉพาะการนั่งหลังตรงยังช่วยให้ออกซิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20% ยังเป็นการพาออกซิเจนไปให้พลังงานที่ดีต่อสมองได้อีกด้วย

“เตรียมพร้อมก่อนเข้าห้องเรียน” 
การเตรียมตัวอ่านหนังสือมาบ้าง โดยเฉพาะทำความรู้จักคร่าวๆกับหัวข้อที่จะสอนเป็นแนวทางมาบ้าง การอ่านมาก่อน ทำให้เราเกิดคำถามและความอยากรู้ ความสงสัย เมื่อฟังครุบรรยายจะทำให้เราตั้งใจฟังประเด็นสำคัญต่างๆได้ชัดเจนมากขึ้น

“ตั้งใจเรียนในห้อง”
อาจนั่งหน้าห้องก็เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจ เพราะหน้าห้องจะไม่มีสิ่งรบกวนสายตา เราจะจดจ่ออยู่กับผู้สอน และการอยู่ใกล้อาจารย์ทำให้เราและเพื่อนไม่คุยกันในเวลาเป็นการสร้างสมาธิที่ดีอย่างหนึ่ง มีความตื่นตัวไม่กล้าหลับ นอกจากนี้ผลพลอยได้คือ เด็กหน้าห้องมักจะมีภาพพจน์ที่ดีกับอาจารย์ ดูเป็นเด็กสนใจเรียนและคะแนนความเอ็นดูตรงนี้บางทีก็มีผลเช่นกัน


“การฝึกฝนกับแบบฝึกหัด” 
การทำการบ้านและแบบฝึกหัดเป็นวิธีที่ทำให้เรารู้ระดับความเข้าใจของเราได้อย่างดี และทำให้เรารู้จุดด้อยและประเด็นที่เรายังไม่เข้าใจได้อีกด้วย การทำข้อสอบทำให้เราเข้าถึงสาระสำคัญของบทเรียน และการทำแบบฝึกหัดเก่าๆ ยังช่วยให้เกิดความชำนาญจนรู้สึกว่า ไม่ว่าจะพลิกแพลงโจทย์อย่างไรเราก็บรรลุหลักการต่างๆเหล่านั้นถ่องแท้แล้ว


อ้างอิง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น