วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555
เทคนิคการทำข้อสอบให้ได้คะแนนสูงๆ
1. เปิดข้อสอบเมื่อได้รับคำสั่ง
ตรวจสอบเวลาทำการสอบรวมกี่ชั่วโมงที่หัวข้อสอบให้แน่ชัด
เสร็จแล้วเขียนชื่อ/นามสกุล ชั้น/ห้อง เลขที่ประจำตัว เลขที่สอบให้เรียบร้อย
ขณะเดียวกันให้ฟังกรรมการผู้คุมสอบไปด้วยว่า มีคำสั่งแก้ไขข้อสอบหรือไม่
ถ้ามีให้พลิกข้อสอบ ไปทำการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน
แล้วจึงกลับมาเขียนข้อมูลส่วนตัวบนหัวกระดาษคำตอบให้เรียบร้อย
2. พลิกดูข้อสอบทั้งหมดมีกี่ข้อ
เป็นปรนัยกี่ข้อ อัตนัยกี่ข้อ คำนวณเวลาที่มี โดยปกติข้อสอบอัตนัย 1 ข้อ จะใช้เวลามากกว่าปรนัยประมาณ 3 เท่า
ว่าควรจะใช้เวลาคิดได้ข้อละกี่นาที
และเหลือเวลาไว้ตรวจสอบคำตอบทั้งหมดในตอนท้ายประมาณ 10 นาที
เพราะผู้ออกข้อสอบจะคำนึงถึงเวลาที่ให้กับความยากง่ายของข้อสอบเสมอ
3. เมื่อได้เวลาเฉลี่ยต่อข้อในการทำข้อสอบแล้ว
พลิกข้อสอบดูคร่าวๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ไปถึงข้อสุดท้ายอีกครั้ง
เพื่อดูว่าข้อสอบข้อใดบ้างง่ายสำหรับเรา
ให้ลงมือทำเลยโดยไล่จากข้อสอบแบบปรนัยไปแบบอัตนัย
4. อ่านคำสั่งให้เข้าใจว่าแต่ละส่วนของข้อสอบเขาให้เราตอบอย่างไร
ให้วงกลม กากะบาด หรือเติมคำตอบสั้นๆ จับคู่ หรือแสดงวิธีทำ
มีผู้เข้าสอบเป็นจำนวนมากต้องเสียใจกับความผิดพลาด เพราะละเลย ไม่อ่านคำสั่งให้ดี
เกี่ยวกับการแสดงคำตอบที่ถูกต้องมามากต่อมากแล้ว
5. เริ่มทำข้อสอบที่ยากจากข้อแรกไปตามลำดับ
อย่าลืม “การวิเคราะห์โจทย์อย่างมีประสิทธิภาพ” จะช่วยให้วางแผนในการคิดหาคำตอบในแต่ละข้อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
6. ข้อไหนคิดจนหมดเวลาเฉลี่ยแล้วให้ผ่านไปก่อน
คิดข้ออื่นต่อไป ถ้ามีเวลาเหลือแล้วค่อยกลับมาทำใหม่ แต่อย่าลืมจะต้องคงเวลาประมาณ
10 นาทีไว้ตอนท้ายสำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของการทำข้อสอบเสมอ
7. อย่าเขียนสูตร
ทฤษฎีบท นิยาม หรือวิธีคิดใดๆ ไว้บนมือขณะอยู่ในห้องสอบ
เพราะจะทำให้เกิดปัญหากับกรรมการคุมสอบได้ง่ายที่สุด
ถ้าจำเป็นควรเขียนบนกระดาษทดที่กรรมการคุมสอบแจกมา
8. สำหรับข้อสอบแบบอัตนัย
ให้เขียนวิธีทำด้วยลายมือที่อ่านง่าย ชัดเจน ได้รูปแบบของการทำโจทย์คณิตศาสตร์
ในชั้นเรียน (ไม่ใช้รูปแบบจากการเรียนพิเศษ
ซึ่งนั่นควรเขียนเก็บไว้เพื่อความเข้าใจของตนเองเท่านั้น)
เพราะคำตอบที่อ่านง่ายตั้งใจเขียน แม้จะตกหล่น ขาดเกินไปบ้าง
ก็ชนะใจผู้ตรวจข้อสอบในเรื่องการให้คะแนนมามากต่อมากแล้ว
9. ใช้เวลาช่วง 10
นาทีสุดท้าย ตรวจสอบคำตอบที่เราทำมาทั้งหมด ดูว่าเราทำตกหล่น
เผลอเลอ ลืมอะไรตรงไหนอีกหรือไม่ มีผู้สอบที่พลาดการได้คะแนน เพราะความเผลอเลอ ลืม
ไม่รอบครอบ ทำให้เสียคะแนน อดได้คะแนน หรือไม่ได้รับการคัดเลือก หรือแพ้เขาเพียง 1
คะแนน มามากต่อมากแล้ว (ใช้เวลาในการคิดจนหมดไม่มีเวลาทบทวน)
แต่อย่าทบทวนในลักษณะคิดวกไป วนมา แก้ไขหลายครั้งแบบสับสนจนทำให้ข้อถูก
กลายเป็นข้อผิด เพราะขาดความมั่นใจในตัวเอง
ฉะนั้นทุกข้อที่ทำไปแล้วให้ทบทวนเพียงครั้งเดียว
10. ส่งกระดาษคำตอบให้กรรมการผู้คุมสอบเมื่อตรวจทานเสร็จหรือได้ยินสัญญานหมดเวลาสอบ
ขณะส่งกระดาษให้เหลือบดูที่หัวกระดาษคำตอบสักนิดว่าเขียน ชื่อ/นามสกุล
เลขที่สอบหรือเลขประจำตัว เรียบร้อยแล้วหรือไม่ เพราะยังแก้ไขได้ทัน
แต่ถ้าส่งกระดาษ คำตอบไปแล้ว อย่าไปคว้ากลับมาแก้ไขด้วยเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น
ถ้าไม่ได้รับการทวงถามจากกรรมการผู้คุมสอบ
บรรยากาศการสอบ Midtem
เป็นอีกครั้งที่เด็กจะได้สอบเพื่อประเมินความรู้ของตนเอง หลังจากที่ได้เปิดภาคเรียนที่ 2 มาเป็นเวลาเกือบ 2 เดือน ทุกคนต่างตั้งใจทำข้อสอบอย่างเต็มที่
Mind Mapping & Think board
Mind Mapping วิชาประวัติศาสตร์
ผลงานการวิเคราะห์บทเรียนของนักเรียน ห้อง G.5A เรื่อง วัฒนธรรมกับการดำรงชีวิตในภาคต่างๆซึ่งเป็นเนื้อหาในวิชาประวัติศาสตร์ โดย เสนอผลงานออกมาในรูปของ Mind Mapping
Think Board วิชาสังคมสึกษา
นักเรียน G.5A สร้างสรรค์ผลงาน โดยการเชื่อมโยงเนื้อหาเรื่อง สถาบันการเงิน เข้าสู่ชีวิตประจำวัน และผูกเรื่องราวได้อย่างน่าอัศจรรย์
ผลงานการวิเคราะห์บทเรียนของนักเรียน ห้อง G.5A เรื่อง วัฒนธรรมกับการดำรงชีวิตในภาคต่างๆซึ่งเป็นเนื้อหาในวิชาประวัติศาสตร์ โดย เสนอผลงานออกมาในรูปของ Mind Mapping
Think Board วิชาสังคมสึกษา
นักเรียน G.5A สร้างสรรค์ผลงาน โดยการเชื่อมโยงเนื้อหาเรื่อง สถาบันการเงิน เข้าสู่ชีวิตประจำวัน และผูกเรื่องราวได้อย่างน่าอัศจรรย์
Reading Time
ผลจากการอ่าน ด.ช. วุฒิชัย ผันอากาศ ,ด.ญ.ศุภาวรรณ ภูขะมา และ ด.ญ.พรนภัส โรจนรัตน์ เรื่อง กระเป๋า 2 ใบ ความหมายของกระเป๋า ใบที่ 1 คือ เห็นความผิดของผู้อื่น กระเป๋า ใบที่ 2 คือ เห็น ความผิดของตนเอง จากการนำเสนอได้ให้ข้อคิดกับเรื่องนี้ว่า ( ควรมองข้ามกระเป๋าใบที่ 1 และให้แก้ไขกระเป๋าใบที่ 2 )
บรรยากาศการแข่งกีฬาสี
วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555
Classroom Activities
Subject: Science
Topic: Electricity
Students G.6C are doing 4 color pens strategy during the science period.
This strategy can enhance the students' understanding of the lesson.
Staff Development
Activity: English Workshop
Topic: Time
T. Warangkana is practicing English language for Art teachers about topic: time.
วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555
!!!.....วิธีสร้างนิสัยรักการเรียนแก่ลูกรัก .....!!!!?
1.เด็กไม่มีนิสัยรักในการเรียน
2.เด็กไม่รู้จักแบ่งเวลาในการดูหนังสือ
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่คุณพ่อ คุณแม่
ต้องช่วยสร้างนิสัยรักการเรียนให้แก่ลูก
สิ่งเหล่านี้อาจใช้เวลาในการตั้งต้นอย่างเอาจริงเอาจังประมาณ 1 -2 สัปดาห์
แต่การใช้ความสม่ำเสมอ จะช่วยสร้างลักษณะนิสัยได้
มีเทคนิคที่จะช่วยสร้างลักษณะนิสัยดังกล่าวต่อไปนี้
1. ต้องจัดเวลาในการดูหนังสือและทำการบ้านให้แก่เด็กทุกวัน
เป็นช่วงเวลาเดิม และทำเป็นประจำทุกวัน
2. จัดโต๊ะสำหรับทำการบ้านและดูหนังสือ ให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอและไม่มีเสียงรบกวน
3. ปิดทีวี วิทยุ หรือสิ่งเร้าที่รบกวนต่างๆ
4. เมื่อนั่งที่โต๊ะทำการบ้าน และดูหนังสือทุกครั้ง จะต้องฝึกให้เด็กทำงานทันที อย่าให้ทำเรื่องอื่นที่นอกเหนือจากการเรียน เช่นการตอบจดหมาย การคุยกับเพื่อนทางอินเตอร์เนต หรือการเล่นเกม เป็นต้น แต่ตั้งกฎกติกาไว้ว่าเด็กสามารถทำสิ่งเหล่านั้นได้หลังจากสิ้นสุดการดูหนังสือหรือทำการบ้าน
5. ช่วยลูกในการวางแผนการทำการบ้านและดูหนังสือให้ชัดเจนในแต่ละวัน เช่น ทำเรียงความ 2 หน้า เขียนเรื่องสั้น 1 เรื่อง ตอบโจทย์เลข 10 ข้อ เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆจากการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
6. หากงานที่ได้รับมอบหมายเป็นโครงการใหญ่ อาจช่วยลูกในการแบ่งหัวข้อ เป็นข้อย่อยๆเพื่อให้ง่ายขึ้น เช่น บทนำ การวางแผนที่จะทำโครงการนั้นสำเร็จ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทสรุป เป็นต้น
7. มีอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ง่ายต่อการหยิบจับ และนำมาใช้สอย เช่น มีกล่องกระดาษว่างๆ แล้วให้ลูกจัดอุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับการเรียนเตรียมพร้อมไว้ เพื่อเวลาใช้งานจะไม่รู้สึกหงุดหงิดว่าหาไม่เจอ
8. เมื่อลูกเริ่มใจลอย ไม่มีสมาธิในการดูหนังสือ ให้เตือนลูกทันที เพื่อลูกจะใช้เวลาในช่วงนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย หากสมองล้าเกินไปจะไม่สามารถทำกิจกรรมอื่นต่อไปได้ ดังนั้นควรจัดเวลาพักไว้ด้วย เช่น ทำการบ้าน 45 นาทีพัก 15 นาที เพื่อให้สมองกลับมาสดชื่นอีกครั้ง เป็นต้น
2. จัดโต๊ะสำหรับทำการบ้านและดูหนังสือ ให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอและไม่มีเสียงรบกวน
3. ปิดทีวี วิทยุ หรือสิ่งเร้าที่รบกวนต่างๆ
4. เมื่อนั่งที่โต๊ะทำการบ้าน และดูหนังสือทุกครั้ง จะต้องฝึกให้เด็กทำงานทันที อย่าให้ทำเรื่องอื่นที่นอกเหนือจากการเรียน เช่นการตอบจดหมาย การคุยกับเพื่อนทางอินเตอร์เนต หรือการเล่นเกม เป็นต้น แต่ตั้งกฎกติกาไว้ว่าเด็กสามารถทำสิ่งเหล่านั้นได้หลังจากสิ้นสุดการดูหนังสือหรือทำการบ้าน
5. ช่วยลูกในการวางแผนการทำการบ้านและดูหนังสือให้ชัดเจนในแต่ละวัน เช่น ทำเรียงความ 2 หน้า เขียนเรื่องสั้น 1 เรื่อง ตอบโจทย์เลข 10 ข้อ เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆจากการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
6. หากงานที่ได้รับมอบหมายเป็นโครงการใหญ่ อาจช่วยลูกในการแบ่งหัวข้อ เป็นข้อย่อยๆเพื่อให้ง่ายขึ้น เช่น บทนำ การวางแผนที่จะทำโครงการนั้นสำเร็จ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทสรุป เป็นต้น
7. มีอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ง่ายต่อการหยิบจับ และนำมาใช้สอย เช่น มีกล่องกระดาษว่างๆ แล้วให้ลูกจัดอุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับการเรียนเตรียมพร้อมไว้ เพื่อเวลาใช้งานจะไม่รู้สึกหงุดหงิดว่าหาไม่เจอ
8. เมื่อลูกเริ่มใจลอย ไม่มีสมาธิในการดูหนังสือ ให้เตือนลูกทันที เพื่อลูกจะใช้เวลาในช่วงนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย หากสมองล้าเกินไปจะไม่สามารถทำกิจกรรมอื่นต่อไปได้ ดังนั้นควรจัดเวลาพักไว้ด้วย เช่น ทำการบ้าน 45 นาทีพัก 15 นาที เพื่อให้สมองกลับมาสดชื่นอีกครั้ง เป็นต้น
9. การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นสิ่งที่สำคัญ
ดังนั้นควรจัดเวลาเข้านอน และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ก่อนนอน 1-2
ชั่วโมง
เพราะจะทำให้นอนหลับไม่สนิทในเวลากลางคืน
10. รับประทานอาหารมีประโยชน์และให้ครบ 3 มื้อในแต่ละวัน ไม่ควรงดอาหารเช้าหรือาหารเย็น เพราะ ร่างกายของเด็กกำลังเจริญโต และสมองจะพัฒนาอย่างเต็มที่หากได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
11. การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น ควรออกกำลังอย่างน้อยวันละ 20 นาที หากทำกันทั้งครอบครัวจะทำให้ลูกรู้สึกสนุกและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย
12. หากลูกต้องการความช่วยเหลือ คุณพ่อคุณแม่จะคอยช่วยให้คำแนะนำได้ แต่ไม่ใช่ลงมือทำแทนลูก
ประโยชน์ที่ได้รับจาการสร้างลักษณะนิสัยรักการเรียนแก่ลูก
1.ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญาด้านความคิดและความจำของลูก
2.ช่วยลูกให้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่ดี
3.ช่วยให้ลูกใช้เวลาอย่างฉลาด
4.ช่วยให้ลูกเรียนรู้การทำงานด้วยตัวของตัวเอง
5.สอนให้ลูกรู้จักรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
6.ได้ทบทวนบทเรียนและฝึกปฏิบัติจริง
7.เตรียมพร้อมสำหรับบทเรียนในวันถัดไป
8.เรียนรู้การค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เนต เป็นต้น
9.ลูกสามารถต่อยอดความคิดต่างๆ และสามารถนำไปปรับใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้
10.ตัวคุณพ่อคุณแม่เองจะทราบถึงความเคลื่อนไหวในการเรียนของลูก
11.เป็นเวลาที่มีค่าที่ครอบครัวจะได้ช่วยเหลือและพัฒนาความคิดไปด้วยกัน
12.คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่ใกล้ๆลูกในขณะที่เขากำลังทำการบ้าน เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ช่วยสอนและอธิบายการบ้านแก่ลูก ในกรณีที่เขาไม่เข้าใจหรือทำการบ้านไม่ได้
ในขณะที่ลูกกำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ลูกต้องการแบบอย่าง การให้กำลังใจ หากผู้ปกครองเห็นความสำคัญในการจัดเวลา ช่วยลูกสร้างนิสัยรักการเรียนตั้งแต่ยังเล็กจะทำให้ลูกติดเป็นนิสัย และจะทำให้ลูกเป็นคนมีวินัยต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อหน้าที่การงานที่ตนเองรับผิดชอบ ซึ่งจะทำให้ลูกเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการเรียนได้อย่างแน่นอน
..................................................................................................
10. รับประทานอาหารมีประโยชน์และให้ครบ 3 มื้อในแต่ละวัน ไม่ควรงดอาหารเช้าหรือาหารเย็น เพราะ ร่างกายของเด็กกำลังเจริญโต และสมองจะพัฒนาอย่างเต็มที่หากได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
11. การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น ควรออกกำลังอย่างน้อยวันละ 20 นาที หากทำกันทั้งครอบครัวจะทำให้ลูกรู้สึกสนุกและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย
12. หากลูกต้องการความช่วยเหลือ คุณพ่อคุณแม่จะคอยช่วยให้คำแนะนำได้ แต่ไม่ใช่ลงมือทำแทนลูก
ประโยชน์ที่ได้รับจาการสร้างลักษณะนิสัยรักการเรียนแก่ลูก
1.ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญาด้านความคิดและความจำของลูก
2.ช่วยลูกให้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่ดี
3.ช่วยให้ลูกใช้เวลาอย่างฉลาด
4.ช่วยให้ลูกเรียนรู้การทำงานด้วยตัวของตัวเอง
5.สอนให้ลูกรู้จักรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
6.ได้ทบทวนบทเรียนและฝึกปฏิบัติจริง
7.เตรียมพร้อมสำหรับบทเรียนในวันถัดไป
8.เรียนรู้การค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เนต เป็นต้น
9.ลูกสามารถต่อยอดความคิดต่างๆ และสามารถนำไปปรับใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้
10.ตัวคุณพ่อคุณแม่เองจะทราบถึงความเคลื่อนไหวในการเรียนของลูก
11.เป็นเวลาที่มีค่าที่ครอบครัวจะได้ช่วยเหลือและพัฒนาความคิดไปด้วยกัน
12.คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่ใกล้ๆลูกในขณะที่เขากำลังทำการบ้าน เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ช่วยสอนและอธิบายการบ้านแก่ลูก ในกรณีที่เขาไม่เข้าใจหรือทำการบ้านไม่ได้
ในขณะที่ลูกกำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ลูกต้องการแบบอย่าง การให้กำลังใจ หากผู้ปกครองเห็นความสำคัญในการจัดเวลา ช่วยลูกสร้างนิสัยรักการเรียนตั้งแต่ยังเล็กจะทำให้ลูกติดเป็นนิสัย และจะทำให้ลูกเป็นคนมีวินัยต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อหน้าที่การงานที่ตนเองรับผิดชอบ ซึ่งจะทำให้ลูกเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการเรียนได้อย่างแน่นอน
..................................................................................................
" เป็นเด็กดี...กันนะครับ../....เพื่อสังคมที่ดี...ประเทศไทยจะได้หมดภัยซะที.."
แฮปปี้../มีความสุขนะครับ./บ๊ายบ๋ายจ้า../
............................................................................
การนำเสนอชิ้นงานวิชาสังคม
หลังจากการเรียนเนื้อหาเรื่องแผนที่ แล้ว นักเรียนระดับชั้น ป.5 ได้ผลิตผลงาน พร้อมนำเสนอผลงานของแผนที่ประเภทต่างๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)