สมาธิ คือ สภาพของจิตซึ่งจดจ่อความสนใจไปในสิ่งเดียวหรือเรื่องเดียว
ไม่วอกแวกสนใจเรื่องอื่น
ประโยชน์ของสมาธิ
สมาธิในทางพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งและมีประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง
ไม่เพียงแต่จะนำไปในใช้ในการเรียนเท่านั้น
สมาธิเป็นเครื่องมือที่จะทำให้จิตใจสงบเยือกเย็น ทำให้เป็นคนที่มีบุคลิกภาพดี
มองตนเอง มองผู้อื่น และสถานการณ์ต่าง ๆ ตามที่เป็นจริง สามารถแก้ปัญหาในเรื่องต่าง
ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุปสรรคของสมาธิ
สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อสภาพจิตที่จดจ่อความสนใจในเรื่องราวที่กำลังศึกษา
คือ สิ่งรบกวนภายนอก และสิ่งรบกวนภายใน
สิ่งรบกวนภายนอก คือ องค์ประกอบภายนอก เช่น เสียง แสง
สภาพแวดล้อมที่รบกวนสมาธิ
สิ่งที่รบกวนภายใน คือ องค์ประกอบภายในตนเอง เช่น ความหิว
ความอ่อนเพลีย ความวิตกกังวล การขาดแรงจูงใจในการเรียน
ซึ่งรบกวนจิตใจและส่งผลต่อสมาธิ
สาเหตุของการไม่มีสมาธิ
๑. ขาดความสนใจในสิ่งที่ทำ
๒. สนใจในสิ่งที่ทำมากจนเกินไป
๓. สนใจหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
๔. ความเป็นคนหัวดี ปัญญาดี ทำให้คิดไปที่อื่นเร็ว
๕. จิตครอบงำด้วยนิวรณ์
การสร้างนิสัยให้มีสมาธิในชีวิตประจำวัน
๒. สนใจในสิ่งที่ทำมากจนเกินไป
๓. สนใจหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
๔. ความเป็นคนหัวดี ปัญญาดี ทำให้คิดไปที่อื่นเร็ว
๕. จิตครอบงำด้วยนิวรณ์
การสร้างนิสัยให้มีสมาธิในชีวิตประจำวัน
๑.
สร้างนิสัย “ลงมือทำทันที”
๒. สร้างนิสัย “เรียนล่วงหน้า” มิใช่แค่ “เรียนตาม”
๓. สร้างนิสัยมุ่งมั่นว่า “ถ้าทำไม่เสร็จจะไม่ใส่ใจอะไรอื่น”
๔. จัดลำดับของเรื่องที่จะทำก่อนลงมือ
๕. หัดคิดทีละเรื่อง โดยให้เจาะลึกในเรื่องนั้นๆ อย่าผิวเผิน
๖. สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การมีสมาธิ
๗. รู้จักพักเป็นช่วงๆ
๘. สร้างความเต็มใจและจริงใจที่จะทำสิ่งนั้นๆ
๙. พยายามหัดคิดในเรื่องสร้างสรรค์
๒. สร้างนิสัย “เรียนล่วงหน้า” มิใช่แค่ “เรียนตาม”
๓. สร้างนิสัยมุ่งมั่นว่า “ถ้าทำไม่เสร็จจะไม่ใส่ใจอะไรอื่น”
๔. จัดลำดับของเรื่องที่จะทำก่อนลงมือ
๕. หัดคิดทีละเรื่อง โดยให้เจาะลึกในเรื่องนั้นๆ อย่าผิวเผิน
๖. สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การมีสมาธิ
๗. รู้จักพักเป็นช่วงๆ
๘. สร้างความเต็มใจและจริงใจที่จะทำสิ่งนั้นๆ
๙. พยายามหัดคิดในเรื่องสร้างสรรค์
๑๐.
เลิกนิสัยมากเรื่องในการจะทำอะไรสักอย่าง
หลวงพ่อพุธ
ฐานิโย วัดป่าสาลวัน ได้แนะนำวิธีการทำสมาธิในห้องเรียนว่า
๑.
หาที่นั่งที่สามารถมองเห็นครูและกระดานได้ชัดเจน
๒. เมื่อครูเดินเข้ามา ส่งจิตไปรวมที่ครูผู้สอน
๓. จับใจความให้ได้ตามที่ครูต้องการ
๔. เวลาว่างแทนที่จะนั่งคิดสิ่งอื่น ก็นำบทเรียนมาคิด
๕. ให้สติรู้ตัวทุกอิริยาบถ ในการทำ พูด คิด
๒. เมื่อครูเดินเข้ามา ส่งจิตไปรวมที่ครูผู้สอน
๓. จับใจความให้ได้ตามที่ครูต้องการ
๔. เวลาว่างแทนที่จะนั่งคิดสิ่งอื่น ก็นำบทเรียนมาคิด
๕. ให้สติรู้ตัวทุกอิริยาบถ ในการทำ พูด คิด
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น